วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ประวัติของกลองชุดและกลองไฟฟ้า

ประวัติของกลองชุดและกลองไฟฟ้า
                     กลองชุด : ประวัติของกลองชุดนั้นมีมานมนาน กลองชุดนั้นคือชื่อเรียกภาษาไทยที่คนไทยเรียกกัน หมายถึง กลองที่มีหลายชิ้นรวมกันจนได้เป็นชุด แน่นอนความหมายมันตรงตัวอยู่แล้วครับ ส่วนในภาษาอังกฤษนั้นคือ Team drum หรือ jass drum ทั้ง 2 ชื่อ มีความหมายเหมือนกันคือการบรรเลงกลองครั้งละหลาย ๆ ใบ  กลองชุดประกอบด้วยกลองลักษณะต่างๆหลายใบ และแฉหลายอันมารวมกันโดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว กลองจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่แก่ที่สุดของเครื่องดนตรีทั้งหมด
                     ในอดีตนั้นมนุษย์ขึงหนังสัตว์บนรูกลวงของท่อนไม้ และตีหนังสัตว์ด้วยนิ้วและมือ ประวัติศาสตร์พบว่า คนตีกลองพื้นเมืองจะตีกลองเป็นจังหวะ สำหรับการเต้นรำระหว่างเผ่า  แต่ปัจจุบันพบว่า การบรรเลงกลองชุดจะเด่นที่สุดในส่วนของวงดนตรี  สำหรับการเต้นรำ  คนตีกลองพยายามปรับปรุงวิธีการบรรเลง  โดยบรรเลงตามจังหวะที่ได้ยินแล้วนำมาปรับปรุงโดยการคิดค้นระบบใหม่ขึ้น
                     ในช่วง ค.ศ. 1890 ถึง ค.ศ. 1910 นักตีกลองชุดเริ่มแยกออกจากแบบดั้งเดิม  พยายามที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระของดนตรี แทนแบบเก่าที่มีแบบแผนบังคับ ให้ปฏิบัติตามการแสดงถึงความก้าวหน้าของนักตีกลองชุดคือ  จะเติมความสนุกสนานลงในช่วงปลายประโยคเพลง หรือต้นประโยคเพลงแล้วจึงบรรเลงตามบทเพลงที่กำหนด  ซึ่งเป็นเพียงการบรรเลงให้ถูกต้องตามจังหวะเพลงเท่านั้น  การแสดงความก้าวหน้านี้เป็นการคิดค้นเพื่อการสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจภายในโดยตรงของนักตีกลองชุด   
                    
                     หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง  รสนิยมของบุคคลทั่วไปเริ่มเปลี่ยนแปลง ดนตรีแบบคอมโบ้ (Combo)  เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  นักตีกลองเริ่มเบื่อหน่ายการบรรเลงจังหวะเก่าๆ มีการริเริ่มจังหวะใหม่ๆ โดยใช้กลองใหญ่ช่วยเน้นจังหวะ เรียกว่า บ๊อพ (Bop)  หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ยุคของการบรรเลงด้วยนิ้วมือ (Finger Drumming Techinque)  คือการบรรเลงด้วยเทคนิคที่ใช้นิ้วมือปฏิบัติทั้งสองข้าง  โดยใช้ไม้ตีกลองมือขวา ตีฉาบด้านขวามือ ซึ่งเป็นการรักษาจังหวะให้มั่นคงแน่นอน  แล้วเปลี่ยนมือขวามาตีไฮแฮท (Hi Hat)  อยู่ด้านซ้ายมืออย่างต่อเนื่อง เท้าขวาเหยียบที่กระเดื่องกลองใหญ่เน้นเสียงหนักแน่นมั่นคง  มือซ้ายตีกลองเล็กและฉาบอย่างอิสระโดยการเน้นเสียง เช่น การตีเน้นเสียงที่ริมขอบกลอง หรือ การตีหนักๆที่กลางกลอง ผู้ที่มีเทคนิคการบรรเลงด้วยนิ้วมือได้ดี คือ โจ โจนส์ (JO JONES) โจนส์ใช้มือขวาตีที่หัวฉาบมือซ้ายตีขอบฉาบอย่างชำนาญและเชี่ยวชาญ
                     ส่วนประกอบต่าง ๆ ของกลองมีดังนี้                                                                                      
สแนร์                   
                                                 

                     เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกลองชุดรูปร่างลักษณะกลองเล็กที่ใช้บรรเลงร่วมกับกลองชุด มีลักษณะเหมือนกลองเล็กที่ใช้บรรเลงวงดุริยางค์วงใหญ่ทุกประการหรือเป็นกลองเล็กอย่างเดียวกันสามารถนำไปใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีโดยทั่วไปได้กลองเล็กเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดในจำพวกเครื่องเคาะตีทั้งหลายเพราะการบรรเลงตามบทเพลงของกลองเล็กจะทำหน้าที่บรรเลงจังหวะที่ขัดกับกลองใหญ่






เบสดรั๊ม
                                                          


กลองใหญ่  มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับกลองใหญ่ที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์สากลแต่ขนาด     แตกต่างกันคือ  ขนาดกลองใหญ่ของกลองชุดมีขนาดที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ขนาด 14 x 20 นิ้ว หรือ  14 x 22
นิ้ว  มีอุปกรณ์เหมือนกันกับกลองใหญ่วงดุริยางค์ทุกประการ
กลองทอม
                                                          




                   กลองทอม  คือ กลองขนาดเล็กสองใบมีรูปร่างเหมือนกลองเล็ก แต่มีขนาดสูงกว่า ไม่ติดเส้นลวด กลองทอม ทั้งสองใบมีขนาดแตกต่างกัน ใบหนึ่งจะติดตั้งทางด้านซ้ายมือ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอีกใบหนึ่ง ซึ่งติดตั้งด้านขวามือ  โดยทั่วไปนิยมใช้กลองทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 x 13 นิ้วและขนาด 14 x 14 นิ้ว ทั้งสองใบจะมีรูด้านข้างสำหรับใส่แกนโลหะเพื่อติดตั้งบนกลองใหญ่




กลองฟลอร์ทอม
                                                                 


                   ฟลอร์ทอม  มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า ทอมใหญ่” (Large Tom)  รูปร่างลักษณะเหมือนกับ กลองทอม ไม่ติดเส้นลวด ขนาดของฟลอร์ทอม สูงกว่ากลองทอม  มีขาติดตั้งกับตัวฟลอร์ทอม เวลาบรรเลงตั้งอยู่ด้านขวามือชิดกับกลองใหญ่ เสียงฟลอร์ทอมต่ำกว่าเสียงกลองทอม
แฉ

                                                                  


                    แฉ เป็นส่วนประกอบอีกชิ้นหนึ่งของกลองชุด  รูปร่างลักษณะเหมือนกับฉาบที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์  โดยทั่วไปนิยมใช้ฉาบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างขวามือ และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-18 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างซ้ายมือ





ไฮแฮท
                                                                      





                            ไฮแฮท  คือ ฉาบสองใบเหมือนกับฉาบในวงดุริยางค์  แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปนิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  14-15 นิ้ว  ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่ใช้เชือกหนังร้อยสำหรับถือ  เพราะมีขาตั้งรองรับ ใบที่หนึ่งใส่ลงบนขาตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านล่าง จะมีแผ่นโลหะและสักหลาดรองรับ  อีกใบหนึ่งใส่ลงบนขอตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านบน มีที่ไขติดอยู่กับแกนของขาตั้ง 







                                                                                                                      

กลองไฟฟ้า : กลองไฟฟ้า ( Drum kit) เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยกลองหลายใบ และฉาบ โดยใช้ผู้เล่นคนเดียว ถือไม้ตีกลองและฉาบทั้งสองมือ และใช้เท้าเหยียบกระเดื่อง เพื่อตีกลองใหญ่ กลองชุดเป็นที่นิยมใช้กับงานดนตรีเกือบทุกประเภท กลองไฟฟ้าเป็นกลองที่พึ่งเกิดขึ้นมาในสมัยใหม่ เริ่มต้นมาจากเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ และข้อเสียของกลองชุดที่เสียงดังเกินไป ผู้ผลิตจึงคิดที่จะสร้างกลองที่สามารถที่จะเบาเสียงลงได้ สำหรับที่จะใช้ตีในบ้าน หรืออพาตเม้น
                                ส่วนประกอบของกลองไฟฟ้ามีดังนี้                                                                    
สะแนร์ (Snare drum) เป็นกลองที่มีขนาดเล็ก จะวางอู่ด้านซ้ายมือด้านหน้า
กลองทอม (Tom-tom drum) มีขนาดใหญ่กว่าสะแนร์ดรัม ตำแหน่งมักจะวางอยู่ด้านหน้า
เบสดรั๊ม  (Bass drum)  เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และใช้การตีโดยการเหยียบ และไม้ตีก็จะทำการตีกลอง
แฉ (Cymbal) มีอยู่2 แบบ คือ Crash cymbal และ Ride cymbal ใช้ไม้ตี จะวางอยู่ด้านบนซ้ายขวา
ไฮแฮท  วิธีการเล่น ไฮแฮท นี้คือการเหยียบ แป้น เหยียบของขาตั้ง ไฮแฮท ให้สุด การเปิด ไฮแฮท คือการปล่อยให้ ไฮแฮท ทั้งบนและล่างแยกออกจากกัน
Drumstick ไม้สำหรับตีกลองชุด

                         กลองอิเล็กทรอนิกส์ จะประกอบด้วย ชุดของแผ่นติดตั้ง บนขาตั้ง ในการจัดการที่คล้ายคลึง กับกลองชุดอะคูสติก แผ่นมีแผ่นด้วยยาง หรือผ้าเหมือนเคลือบ แต่ละแผ่นมีเซ็นเซอร์ ซึ่งจะสร้างสัญญาณไฟฟ้า เมื่อตีสัญญาณไฟฟ้า จะถูกส่งผ่านสายเคเบิล ลงในโมดูล อิเล็กทรอนิกส์ ที่ผลิตเสียง ที่เกี่ยวข้อง กับแผ่นที่ตี.


ขอบคุณภาพจากhttp://pirun.ku.ac.th/

1 ความคิดเห็น:

บทบรรณาธิการ"ดนตรีดีจัง"

บทบรรณาธิการ “ ดนตรีดีจัง ”             ในวงการดนตรีนั้นมีเครื่องดนตรีหลากหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีชื่อที่แตกต่างกันไป กลอง กีต้า เบส แล...